สวนเมล่อนบนดาดฟ้า เกษตรยุคใหม่คนในเมือง
ที่จริง "รุ่งโรจน์ เวชสิทธิ์" เติบโตจากธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกย้อมสี ในนามบริษัท รุ่งเอ็นจิเนียริ่งพลาสท์ จำกัด แต่หลังจากที่เขาเดินทางไปดูงานด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ประเทศอิสราเอล เขากลับมองว่า "การเกษตร เป็นอาชีพที่ตาย" พร้อมกับตั้งโจทย์ว่า "เหตุไฉน คนรุ่นใหม่ทิ้งท้องทุ่ง มุ่งหน้าสู่สังคมเมือง?"
แน่นอนคำตอบเดิมๆ คือ อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่เหนื่อย รายได้น้อย ไม่คุ้มค่า ไร้เกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม ต้องเอาเท้าลุยโคลน เอาหลังสู่ฟ้า หน้าสู่ดิน อยู่กับกลิ่นอายของท้องทุ่ง ขณะที่คนที่อยู่ในเมืองบางคนอยากทำการเกษตร แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินมีไม่เพียงพอ
นี่เป็นการจุดประกายที่ทำให้ รุ่งโรจน์ มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า บั้นปลายชีวิต เขาจะกลับสู่อาชีพผู้ประกอบการด้านเกษตร ด้วยเป้าหมายหลักคือจะส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรสำหรับคนที่อยู่ในสังคมเมือง และจะดึงให้คนรุ่นใหม่หันมาสู่ภาคการเกษตรที่ไม่เหนื่อยอย่างที่คิด และมีรายได้งามอีกด้วย นั่นคือต้องนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้ในกระบวนการผลิต เขาจึงค้นคิดสูตร "การเกษตรสำเร็จรูป" บนพื้นที่ดาดฟ้าของตึกรามบ้านช่อง ที่เขามองว่า น่าจะมีที่ว่างเปล่าทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่อีกนับหมื่นไร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ในที่สุดเขาจึงคิดค้นวิธีการทำเกษตรสำเร็จรูปสำหรับคนเมือง โดยเน้นปลูกเมล่อนบนดาดฟ้า เพราะเห็นว่า มีผู้คนนิยมบริโภคเมล่อนจำนวนมาก รวมถึงเขาเองด้วย แต่ทุกวันนี้ราคาเมล่อนค่อนข้างแพง ควรจะปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนหรือหากไม่หมดก็สามารถขายได้ เพราะทุกวันนี้เมล่อนราคาดี ถือเป็นการเพิ่มช่องทางหารายได้เข้าครอบครัวด้วย
"ที่ผมคิดออกมา ส่วนหนึ่งผมทำขึ้นเพื่อปลูกเมล่อนไว้กินเองในแปลงทดลองของผม แต่หลักๆ ผมเน้นการผลิตชุดการปลูกเมล่อนสำเร็จรูป สำหรับคนในเมืองปลูกบนดาดฟ้า และคนรุ่นใหม่ที่ชอบอาชีพเกษตร แต่ไม่มีพื้นที่ เป็นชุดปลูกที่ไม่ยุ่งยาก เพียงนำโรงเรือนเคลื่อนที่ไปวางไว้ก็ปลูกได้แล้ว" รุ่งโรจน์ กล่าว
สำหรับชุดที่ว่านี้มีทั้งชุดเล็ก ประกอบด้วยโรงเรือนพลาสสติกที่โยกย้ายง่าย กระถางพลาสติกมารองรับวัสดุการปลูกที่ประกอบด้วยดินเผามวลเบา แกลบ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยสำเร็จรูป ท่อระบบน้ำหยด โดยชุดเล็กปลูกได้ 12 ต้นในราคาเริ่มต้นชุดละ 7,500 บาท ถ้าเป็นชุดใหญ่ ปลูกได้ 22 ต้นราคา 11,000 บาท เพียง 2 เดือนที่เปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการ สามารถขายได้แล้วเกือบ 100 ชุด และมียอดจองอีกจำนวนหนึ่ง และผู้ที่ซื้อไปเขายินดีที่จะไปให้คำแนะนำวิธีการดูแลตลอดการปลูกอีกด้วย
"ตอนนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น ต่อไปผมมั่นใจว่าธุรกิจตัวนี้ไปได้สวย เพราะคนในเมืองมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องทำการเกษตรแต่ไม่ทราบจะปลูกที่ไหน ผมจึงนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ เป็นเกษตรยุคใหม่สำหรับคนในเมือง และคนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพราะอย่าลืมครับ อาชีพหรือธุรกิจการเกษตรเป็นสิ่งที่ไม่ตาย เพราะคนต้องกินทุกวัน แต่ในยุคที่มนุษย์ยังไม่ถึงขั้นแย่งอาหาร เราต้องทำการเกษตรที่เป็นทางเลือก ที่ตลาดต้องการ และนำเทคโนโลยีมาใช้ ยิ่งอนาคตไม่ต้องพูดถึง คนเพิ่มขึ้นทุกปี พื้นที่เกษตรหดน้อยลง ถึงเวลานั้นธุรกิจการเกษตรจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเรา" เขา กล่าวอย่างมั่นใจ
อย่างไรก็ตาม การทำสวนเมล่อนบนดาดฟ้าชุดแรกอาจลงทุนสูง เพราะต้องคิดค่าโรงเรือน กระถาง ท่อน้ำระบบน้ำหยด แต่อุปกรณ์เหล่านี้ลงทุนครั้งแรก ต่อไปใช้ได้ตลอด จะมีค่าใช้จ่ายบ้างเป็นจำพวกเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และค่าน้ำเล็กน้อย ในเบื้องต้นผู้ที่สนใจไม่ต้องปลูกหลายชุด ขอให้ซื้อไปน้อยๆ ก่อน แล้วประเมินตัวเองว่า มีเวลาดูแลได้ขนาดไหน อย่างที่ผ่านมามีเจ้าของโรงงานแห่งหนึ่งต้องการ 100 ชุดใหญ่ เขาจึงแนะนำว่า ให้ทำน้อยๆ ก่อน เพราะถ้าไม่มีเวลาอาจทิ้้งฟรี แต่ถ้ามีเวลา ก็สามารถคุยได้ทีหลัง
กว่าที่ชุดปลูกเมล่อนสำเร็จรูปสำหรับปลูกบนดาดฟ้าจะสำเร็จได้ในวันนี้ รุ่งโรจน์ใช้เวลาการศึกษาวิธีการปลูกเมล่อน พร้อมกับไปดูสวนเมล่อนจากหลายแห่ง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำสวนเมล่อนบนดาดฟ้า จนเวลาผ่านไป เป็นแรมปี บนดาดฟ้าโรงงานบริษัท รุ่งเอ็นจิเนียริ่งพลาสท์ จำกัด ที่อยู่ย่าน ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งเดิมที่เป็นพื้นที่ที่เขาใช้สำหรับออกกำลังกาย ถูกแบ่งส่วนหนึ่งเป็นสวนเมล่อน เบื้องต้นใช้พื้นที่ไป 40 ตารางเมตรเป็นการนำร่อง
สำหรับการทำสวนเมล่อนบนดาดฟ้า ครั้งแรกโรงเรือนปิดที่เขาออกแบบเองประกอบด้วยโรงเรือนเคลื่อนที่ 1 โรงเรือน ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร หลังคาคลุมด้วยพลาสติก สำหรับปลูกเมล่อนในกระถาง 100 ต้น โดยเน้นไม่ใช้ดินแต่ใช้แกลบเผา แกลบสด ขุยมะพร้าวปุ๋ยอินทรีย์ลงกระถางพลาสติกที่เป็นวัตถุเบาขนาดกว้าง ราว 15 ซม. สูง 25 ซม. การให้น้ำใช้ระบบน้ำหยด
เมื่อมีอุปกรณ์ครบแล้ว จึงวางแผนเพาะเมล็ดโดยใช้ขุยมะพร้าวผสมกับทรายอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เมื่อต้นกล้าอายุ 10 วัน ย้ายลงปลูกในกระถางวัสดุปลูก แต่กว่าจะสำเร็จได้ เขาต้องลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง เริ่มจากทดลองใช้ดินปลูก ใช้ขุยมะพร้าวผสมกับดินเผา ปลูกด้วยระบบน้ำหยด จึงพบว่าการใช้ขุยมะพร้าวกับดินเผาหรือแกลบเผาดีที่สุด และลงทุนน้อยด้วย
"ผมใช้เวลาศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 2 ปี จึงทราบข้อดีข้อเสีย พบว่าข้อดีอย่างหนึ่งของการปลูกเมล่อนบนดาดฟ้าของตึก คือโรคแมลงไม่ค่อยมี แต่ปัญหาคือหากปลูกด้วยการใช้ดินในกระถางจะมีเชื้อรามักจะพบคือต้นตายช่วงที่ออกผล จึงใช้วัสดุที่ใช้ปลูกอื่นๆ คือขุยมะพร้าวดินเผาจึงไร้ปัญหา ทำให้เมล่อนชุดแรกได้ผลผลิตกว่า 100 ลูก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาต่อมา" รุ่งโรจน์ กล่าวอย่างมั่นใจ
แม้วันนี้การผลิตชุดปลูกเมล่อนสำเร็จรูปบนดาดฟ้า เป็นกิจการใหม่สำหรับ รุ่งโรจน์ เวชสิทธิ์ แต่เขายืนยันว่าจะเดินหน้าทำธุรกิจภาคการเกษตรสำหรับคนเมืองและคนรุ่นใหม่ หลังจากนี้ดาดฟ้าไม่เพียงแต่จะมีสวนเมล่อน หากแต่ขอบของดาดฟ้าจะเป็นแหล่งผลิตพลังงานทางเลือกด้วยระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในตึก และล่าสุดเขาตัดสินใจซื้อที่ดินอีกแปลงสำหรับทดลองปลูกพืชอย่างอื่นด้วย
ใครสนใจคิดทำสวนบนดาดฟ้าป่าคอนกรีต ขอความรู้เพิ่มเติมได้ที่ 08-1635-8562.
แน่นอนคำตอบเดิมๆ คือ อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่เหนื่อย รายได้น้อย ไม่คุ้มค่า ไร้เกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม ต้องเอาเท้าลุยโคลน เอาหลังสู่ฟ้า หน้าสู่ดิน อยู่กับกลิ่นอายของท้องทุ่ง ขณะที่คนที่อยู่ในเมืองบางคนอยากทำการเกษตร แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินมีไม่เพียงพอ
นี่เป็นการจุดประกายที่ทำให้ รุ่งโรจน์ มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า บั้นปลายชีวิต เขาจะกลับสู่อาชีพผู้ประกอบการด้านเกษตร ด้วยเป้าหมายหลักคือจะส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรสำหรับคนที่อยู่ในสังคมเมือง และจะดึงให้คนรุ่นใหม่หันมาสู่ภาคการเกษตรที่ไม่เหนื่อยอย่างที่คิด และมีรายได้งามอีกด้วย นั่นคือต้องนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้ในกระบวนการผลิต เขาจึงค้นคิดสูตร "การเกษตรสำเร็จรูป" บนพื้นที่ดาดฟ้าของตึกรามบ้านช่อง ที่เขามองว่า น่าจะมีที่ว่างเปล่าทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่อีกนับหมื่นไร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ในที่สุดเขาจึงคิดค้นวิธีการทำเกษตรสำเร็จรูปสำหรับคนเมือง โดยเน้นปลูกเมล่อนบนดาดฟ้า เพราะเห็นว่า มีผู้คนนิยมบริโภคเมล่อนจำนวนมาก รวมถึงเขาเองด้วย แต่ทุกวันนี้ราคาเมล่อนค่อนข้างแพง ควรจะปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนหรือหากไม่หมดก็สามารถขายได้ เพราะทุกวันนี้เมล่อนราคาดี ถือเป็นการเพิ่มช่องทางหารายได้เข้าครอบครัวด้วย
"ที่ผมคิดออกมา ส่วนหนึ่งผมทำขึ้นเพื่อปลูกเมล่อนไว้กินเองในแปลงทดลองของผม แต่หลักๆ ผมเน้นการผลิตชุดการปลูกเมล่อนสำเร็จรูป สำหรับคนในเมืองปลูกบนดาดฟ้า และคนรุ่นใหม่ที่ชอบอาชีพเกษตร แต่ไม่มีพื้นที่ เป็นชุดปลูกที่ไม่ยุ่งยาก เพียงนำโรงเรือนเคลื่อนที่ไปวางไว้ก็ปลูกได้แล้ว" รุ่งโรจน์ กล่าว
สำหรับชุดที่ว่านี้มีทั้งชุดเล็ก ประกอบด้วยโรงเรือนพลาสสติกที่โยกย้ายง่าย กระถางพลาสติกมารองรับวัสดุการปลูกที่ประกอบด้วยดินเผามวลเบา แกลบ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยสำเร็จรูป ท่อระบบน้ำหยด โดยชุดเล็กปลูกได้ 12 ต้นในราคาเริ่มต้นชุดละ 7,500 บาท ถ้าเป็นชุดใหญ่ ปลูกได้ 22 ต้นราคา 11,000 บาท เพียง 2 เดือนที่เปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการ สามารถขายได้แล้วเกือบ 100 ชุด และมียอดจองอีกจำนวนหนึ่ง และผู้ที่ซื้อไปเขายินดีที่จะไปให้คำแนะนำวิธีการดูแลตลอดการปลูกอีกด้วย
"ตอนนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น ต่อไปผมมั่นใจว่าธุรกิจตัวนี้ไปได้สวย เพราะคนในเมืองมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องทำการเกษตรแต่ไม่ทราบจะปลูกที่ไหน ผมจึงนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ เป็นเกษตรยุคใหม่สำหรับคนในเมือง และคนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพราะอย่าลืมครับ อาชีพหรือธุรกิจการเกษตรเป็นสิ่งที่ไม่ตาย เพราะคนต้องกินทุกวัน แต่ในยุคที่มนุษย์ยังไม่ถึงขั้นแย่งอาหาร เราต้องทำการเกษตรที่เป็นทางเลือก ที่ตลาดต้องการ และนำเทคโนโลยีมาใช้ ยิ่งอนาคตไม่ต้องพูดถึง คนเพิ่มขึ้นทุกปี พื้นที่เกษตรหดน้อยลง ถึงเวลานั้นธุรกิจการเกษตรจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเรา" เขา กล่าวอย่างมั่นใจ
อย่างไรก็ตาม การทำสวนเมล่อนบนดาดฟ้าชุดแรกอาจลงทุนสูง เพราะต้องคิดค่าโรงเรือน กระถาง ท่อน้ำระบบน้ำหยด แต่อุปกรณ์เหล่านี้ลงทุนครั้งแรก ต่อไปใช้ได้ตลอด จะมีค่าใช้จ่ายบ้างเป็นจำพวกเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และค่าน้ำเล็กน้อย ในเบื้องต้นผู้ที่สนใจไม่ต้องปลูกหลายชุด ขอให้ซื้อไปน้อยๆ ก่อน แล้วประเมินตัวเองว่า มีเวลาดูแลได้ขนาดไหน อย่างที่ผ่านมามีเจ้าของโรงงานแห่งหนึ่งต้องการ 100 ชุดใหญ่ เขาจึงแนะนำว่า ให้ทำน้อยๆ ก่อน เพราะถ้าไม่มีเวลาอาจทิ้้งฟรี แต่ถ้ามีเวลา ก็สามารถคุยได้ทีหลัง
กว่าที่ชุดปลูกเมล่อนสำเร็จรูปสำหรับปลูกบนดาดฟ้าจะสำเร็จได้ในวันนี้ รุ่งโรจน์ใช้เวลาการศึกษาวิธีการปลูกเมล่อน พร้อมกับไปดูสวนเมล่อนจากหลายแห่ง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำสวนเมล่อนบนดาดฟ้า จนเวลาผ่านไป เป็นแรมปี บนดาดฟ้าโรงงานบริษัท รุ่งเอ็นจิเนียริ่งพลาสท์ จำกัด ที่อยู่ย่าน ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งเดิมที่เป็นพื้นที่ที่เขาใช้สำหรับออกกำลังกาย ถูกแบ่งส่วนหนึ่งเป็นสวนเมล่อน เบื้องต้นใช้พื้นที่ไป 40 ตารางเมตรเป็นการนำร่อง
สำหรับการทำสวนเมล่อนบนดาดฟ้า ครั้งแรกโรงเรือนปิดที่เขาออกแบบเองประกอบด้วยโรงเรือนเคลื่อนที่ 1 โรงเรือน ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร หลังคาคลุมด้วยพลาสติก สำหรับปลูกเมล่อนในกระถาง 100 ต้น โดยเน้นไม่ใช้ดินแต่ใช้แกลบเผา แกลบสด ขุยมะพร้าวปุ๋ยอินทรีย์ลงกระถางพลาสติกที่เป็นวัตถุเบาขนาดกว้าง ราว 15 ซม. สูง 25 ซม. การให้น้ำใช้ระบบน้ำหยด
เมื่อมีอุปกรณ์ครบแล้ว จึงวางแผนเพาะเมล็ดโดยใช้ขุยมะพร้าวผสมกับทรายอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เมื่อต้นกล้าอายุ 10 วัน ย้ายลงปลูกในกระถางวัสดุปลูก แต่กว่าจะสำเร็จได้ เขาต้องลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง เริ่มจากทดลองใช้ดินปลูก ใช้ขุยมะพร้าวผสมกับดินเผา ปลูกด้วยระบบน้ำหยด จึงพบว่าการใช้ขุยมะพร้าวกับดินเผาหรือแกลบเผาดีที่สุด และลงทุนน้อยด้วย
"ผมใช้เวลาศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 2 ปี จึงทราบข้อดีข้อเสีย พบว่าข้อดีอย่างหนึ่งของการปลูกเมล่อนบนดาดฟ้าของตึก คือโรคแมลงไม่ค่อยมี แต่ปัญหาคือหากปลูกด้วยการใช้ดินในกระถางจะมีเชื้อรามักจะพบคือต้นตายช่วงที่ออกผล จึงใช้วัสดุที่ใช้ปลูกอื่นๆ คือขุยมะพร้าวดินเผาจึงไร้ปัญหา ทำให้เมล่อนชุดแรกได้ผลผลิตกว่า 100 ลูก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาต่อมา" รุ่งโรจน์ กล่าวอย่างมั่นใจ
แม้วันนี้การผลิตชุดปลูกเมล่อนสำเร็จรูปบนดาดฟ้า เป็นกิจการใหม่สำหรับ รุ่งโรจน์ เวชสิทธิ์ แต่เขายืนยันว่าจะเดินหน้าทำธุรกิจภาคการเกษตรสำหรับคนเมืองและคนรุ่นใหม่ หลังจากนี้ดาดฟ้าไม่เพียงแต่จะมีสวนเมล่อน หากแต่ขอบของดาดฟ้าจะเป็นแหล่งผลิตพลังงานทางเลือกด้วยระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในตึก และล่าสุดเขาตัดสินใจซื้อที่ดินอีกแปลงสำหรับทดลองปลูกพืชอย่างอื่นด้วย
ใครสนใจคิดทำสวนบนดาดฟ้าป่าคอนกรีต ขอความรู้เพิ่มเติมได้ที่ 08-1635-8562.
เคล็ดไม่ลับในการดูแลเมล่อน
เคล็ดลับในการดูแลสวนเมล่อนบนดาดฟ้า เมื่อปลูกแล้วในช่วง 30 วันแรก จะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 20-20-20 พอต้นโตขึ้น เริ่มเข้าเดือนที่ 2 เปลี่ยนใช้ปุ๋ยสูตรใหม่ คือ 16-8-18 จนอายุต้นเมล่อน 56-60 วัน เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 สลับกับสูตร 0-0-50 ทุก 4-5 วัน พอเข้าช่วงเดือนที่ 3 ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้สูตร 0-0-50 อย่างเดียว เน้นในส่วนของโพแทส เพื่อเพิ่มความหวาน หลังจากนั้น 1 อาทิตย์ หรือต้นเมล่อนมีอายุราว 67 -70 วัน จึงหยุดให้น้ำและปุ๋ย รอจนอายุครบ 75 วัน สามารถตัดเมล่อนมากินได้
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่เมล่อนกำลังออกดอก ต้องหมั่นผสมเกสรเอง เพราะบนดาดฟ้า ไม่เคยมีการปลูกพืชมาก่อน จึงไม่มีแมลงที่เป็นพาหะในการผสมเกสรของดอกเมล่อน เจ้าของต้องผสมเกสรเอง โดยจะเริ่มผสมเกสรได้เมื่อต้นอายุได้ 25-30 วัน
สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะในการผสมเกสรจะเป็นช่วงเช้าระหว่างเวลา 07.00-11.00 น. โดยจะเลือกดอกที่ต้องการผสมเกสรคือแขนงที่ 9-13 ถือเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดในการผสมเกสร ที่ให้เมล่อนติดลูกได้ดีและมีผลผลิตที่มีคุณภาพ กระนั้นต้องเผื่อไว้ถึง 5 แขนงด้วย เพื่อไว้สำหรับเลือก ที่สำคัญจะต้องผสมให้เสร็จภายในเวลา 5 วัน เมื่อเมล่อนติดผลผลิตแล้วจะคัดผลที่ดีที่สุดไว้เพียง 1-2 ผลต่อต้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่เมล่อนกำลังออกดอก ต้องหมั่นผสมเกสรเอง เพราะบนดาดฟ้า ไม่เคยมีการปลูกพืชมาก่อน จึงไม่มีแมลงที่เป็นพาหะในการผสมเกสรของดอกเมล่อน เจ้าของต้องผสมเกสรเอง โดยจะเริ่มผสมเกสรได้เมื่อต้นอายุได้ 25-30 วัน
สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะในการผสมเกสรจะเป็นช่วงเช้าระหว่างเวลา 07.00-11.00 น. โดยจะเลือกดอกที่ต้องการผสมเกสรคือแขนงที่ 9-13 ถือเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดในการผสมเกสร ที่ให้เมล่อนติดลูกได้ดีและมีผลผลิตที่มีคุณภาพ กระนั้นต้องเผื่อไว้ถึง 5 แขนงด้วย เพื่อไว้สำหรับเลือก ที่สำคัญจะต้องผสมให้เสร็จภายในเวลา 5 วัน เมื่อเมล่อนติดผลผลิตแล้วจะคัดผลที่ดีที่สุดไว้เพียง 1-2 ผลต่อต้นเท่านั้น
เริ่มต้นที่ศูนย์สู่เถ้าแก่เงินล้าน
รุ่งโรจน์ เวชสิทธิ์ เป็นชาว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หลังจากที่เรียนจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่บ้านเกิดแล้วมุ่งหน้าสู่เมืองหลวง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งในรอบกว่า 10 ปี แต่ด้วยเป็นคนที่เกิดในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน จึงสามารถพูดภาษาจีนได้ และยังมีความมานะฝึกฝนพูดภาษาอังกฤษจนสามารถพูดได้อีกภาษาหนึ่ง
จากที่มีความสามารถในการพูดหลายภาษา รุ่งโรจน์จึงได้มีโอกาสไปขุดทองในต่างแดน เริ่มต้นจากญี่ปุ่น 4 ปี และที่ญี่ปุ่นนี่เองที่ รุ่งโรจน์ได้เห็นและเรียนรู้ในการรีไซเคิลพลาสติกมาใช้ใหม่ ทำให้เขาคิดว่าถ้ามีโอกาสก็น่าจะเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทย กลับจากญี่ปุ่น ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบียอีก 4 ปี สุดท้ายได้ไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน พอกลับมาเมืองไทยก็ทำงานกับชาวไต้หวัน ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับเม็ดพลาสติกนั่นเอง
กระทั่งวันหนึ่ง รุ่งโรจน์ คิดว่าน่าจะเพียงพอสำหรับการเป็นลูกจ้าง จึงเอาเงินที่เก็บออมมา ไปสร้างบ้านให้คุณแม่ที่เชียงใหม่ เงินอีกส่วนหนึ่งเขาไปเช่าโกดัง เพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตเม็ดสีย้อมจากพลาสติกรีไซเคิล ในปี 2539
วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 2540 หลายกิจการต้องล่มสลาย แต่รุ่งโรจน์กลับรุ่งเรือง เนื่องจากโรงงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องไฟฟ้าต้องการลดต้นทุน จึงหันมาซื้อเม็ดพลาสติกย้อมสี ที่เขานำพลาสติกมารีไซเคิล และมีราคาถูกกว่านำเข้า เวลาผ่านไปเพียง 1 ปีกับ 6 เดือน รุ่งโรจน์ ได้กำไรจากกิจการอย่างงดงาม และเขาจึงตัดสินใจไปซื้อที่เกือบ 500 ตารางวาเพื่อสร้างโรงงานในที่ของตัวเองจนถึงปัจจุบัน
ระหว่างนั้นเอง รุ่งโรจน์ได้ขยายกิจการจากโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกย้อมสี หันมาเปิดโรงงานผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากหวายเทียม ตระเวนออกบูธตามงานต่างๆ ทำให้กิจการรุ่งเรืองสามารถผลิตเพื่อส่งออกมูลค่าปีละนับสิบล้าน จนกระทั่งประสบปัญหาแรงงาน ทำให้เขาไม่สามารถผลิตได้ตามยอดสั่ง จึงเลิกส่งออกแต่ผลิตขายในประเทศในนามยี่ห้อ "อาร์เอส วิกเกอร์" มาจนวันนี้ ล่าสุดหันมาคิดค้น ประดิษฐ์ชุดปลูกเมล่อนบนดาดฟ้า และกำลังเริ่มธุรกิจพลังงานทางเลือกด้วยการติดแผ่นโซลาร์เซลล์ที่จะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้
รุ่งโรจน์ เวชสิทธิ์ เป็นชาว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หลังจากที่เรียนจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่บ้านเกิดแล้วมุ่งหน้าสู่เมืองหลวง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งในรอบกว่า 10 ปี แต่ด้วยเป็นคนที่เกิดในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน จึงสามารถพูดภาษาจีนได้ และยังมีความมานะฝึกฝนพูดภาษาอังกฤษจนสามารถพูดได้อีกภาษาหนึ่ง
จากที่มีความสามารถในการพูดหลายภาษา รุ่งโรจน์จึงได้มีโอกาสไปขุดทองในต่างแดน เริ่มต้นจากญี่ปุ่น 4 ปี และที่ญี่ปุ่นนี่เองที่ รุ่งโรจน์ได้เห็นและเรียนรู้ในการรีไซเคิลพลาสติกมาใช้ใหม่ ทำให้เขาคิดว่าถ้ามีโอกาสก็น่าจะเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทย กลับจากญี่ปุ่น ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบียอีก 4 ปี สุดท้ายได้ไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน พอกลับมาเมืองไทยก็ทำงานกับชาวไต้หวัน ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับเม็ดพลาสติกนั่นเอง
กระทั่งวันหนึ่ง รุ่งโรจน์ คิดว่าน่าจะเพียงพอสำหรับการเป็นลูกจ้าง จึงเอาเงินที่เก็บออมมา ไปสร้างบ้านให้คุณแม่ที่เชียงใหม่ เงินอีกส่วนหนึ่งเขาไปเช่าโกดัง เพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตเม็ดสีย้อมจากพลาสติกรีไซเคิล ในปี 2539
วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 2540 หลายกิจการต้องล่มสลาย แต่รุ่งโรจน์กลับรุ่งเรือง เนื่องจากโรงงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องไฟฟ้าต้องการลดต้นทุน จึงหันมาซื้อเม็ดพลาสติกย้อมสี ที่เขานำพลาสติกมารีไซเคิล และมีราคาถูกกว่านำเข้า เวลาผ่านไปเพียง 1 ปีกับ 6 เดือน รุ่งโรจน์ ได้กำไรจากกิจการอย่างงดงาม และเขาจึงตัดสินใจไปซื้อที่เกือบ 500 ตารางวาเพื่อสร้างโรงงานในที่ของตัวเองจนถึงปัจจุบัน
ระหว่างนั้นเอง รุ่งโรจน์ได้ขยายกิจการจากโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกย้อมสี หันมาเปิดโรงงานผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากหวายเทียม ตระเวนออกบูธตามงานต่างๆ ทำให้กิจการรุ่งเรืองสามารถผลิตเพื่อส่งออกมูลค่าปีละนับสิบล้าน จนกระทั่งประสบปัญหาแรงงาน ทำให้เขาไม่สามารถผลิตได้ตามยอดสั่ง จึงเลิกส่งออกแต่ผลิตขายในประเทศในนามยี่ห้อ "อาร์เอส วิกเกอร์" มาจนวันนี้ ล่าสุดหันมาคิดค้น ประดิษฐ์ชุดปลูกเมล่อนบนดาดฟ้า และกำลังเริ่มธุรกิจพลังงานทางเลือกด้วยการติดแผ่นโซลาร์เซลล์ที่จะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้
สวนเมล่อนบนดาดฟ้า เกษตรยุคใหม่คนในเมือง
Reviewed by hero
on
11:46:00 AM
Rating:
No comments: